สุดปังขอพรเซียนแปะโรงสี อยากรวยอย่าเลื่อนผ่าน

วัดศาลเจ้าเมืองปทุมฯ วัดศาลเจ้า เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของเมืองปทุมธานี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก

ในพื้นที่ ต.บ้านกลาง อ.เมือง ปทุมธานี อาณาเขตติดต่อกับวัดมะขาม ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองเชียงราก

ประวัติความเป็นมาของวัดศาลเจ้าแห่งนี้ มีคำบอกเล่าแตกต่างกันออกไป บ้างกล่าวว่าวัดนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

โดยชาวรามัญที่อพยพหลบหนีภัยสงครามจากพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในครั้งนั้นชาวรามัญเข้ามากันเป็นจำนวนมาก

โดยแยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานทั้งในพื้นที่เมืองสามโคกหรือเมืองปทุมธานีในปัจจุบัน เมืองพระปะแดง ปากเกร็ด ปากลัด

เป็นต้น ชาวมอญ หรือชาวรามัญเหล่านี้ล้วนแล้วแต่นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อตั้งหลักปักฐานมั่นคง

ก็มีการสร้างวัดขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมทั้งปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ และวัดแห่งนี้ก็เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

แต่อีกตำนานเล่าขานกันต่อมาว่า วัดศาลเจ้า สร้างเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยา โดยเจ้าน้อยมหาพรหม

บุตรเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ เป็นผู้มีวิชาไสยศาสตร์แก่กล้า ได้ล่องแพมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา

จนมาถึงวัดมะขามในและได้พบกับพระภิกษุเชื้อสายรามัญ นาม “พระอาจารย์รุ” ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้าน

ทั้งสองได้ทดสอบวิชากัน เจ้าน้อยมหาพรหมเกิดความเคารพเลื่อมใสในวิทยาคมของพระอาจารย์รุ

จึงขอสร้างวัดและศาลขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจ แล้วตั้งชื่อว่าวัดศาลเจ้า คาดว่ามาจาก “ศาล” ที่สร้างขึ้นโดย “เจ้า”น้อยมหาพรม

และวัดแห่งนี้เป็นที่พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประกอบพิธีทำน้ำอภิเษก เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สำหรับแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดศาลเจ้า เชื่อว่าเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าที่มีเจ้าพ่อนักรบถือทวนประดิษฐานอยู่

เชื่อเพราะว่า เมื่อก่อนนี้หน้าวัดศาลเจ้าในลำน้ำเจ้าพระยามีจระเข้ชุกชุมมากและทำร้ายผู้คนที่ผ่านไปมาเป็นประจำ

เมื่อ “เจ้าน้อยมหาพรหม” เป็นบุตรเจ้าเมืองทางฝ่ายเหนือ เป็นผู้ที่มีวิชาความรู้ทางไสยศาสตร์ มีวิชาในการปราบจระเข้ได้มาพบเจ้าน้อยทั้งนี้

จึงใช้สมาธิร่ายเวทมนต์จนจระเข้เชื่อง และเป็นสถานที่ประลองวิชาระหว่างเจ้าน้อยกับพระอาจารย์รุ

ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่วัดมะขามในหรือวัดมะขามน้อยใกล้ ๆ วัดศาลเจ้า ซึ่งพระอาจารย์รุมีวิชาไสยศาสตร์เหนือกว่า

เจ้าน้อยทำให้เจ้าน้อยมหาพรหมเกิดความเคารพนับถือเลื่อมใสในตัวพระอาจารย์รุเป็นอย่างยิ่ง จึงรื้อแพที่ล่องมาสร้างกุฏิ และศาลาการเปรียญให้กับวัดดังกล่าว

ภายในวัดศาลเจ้ามีปูชนียสถานที่สำคัญ เช่น อุโบสถซึ่งเจ้าน้อยมหาพรหมสร้างถวายในสมัยพระอาจารย์รุ

ได้ทำการบูรณะใหม่ในเวลาต่อมา นับว่าเป็นอุโบสถที่สวยงามมาก เจดีย์แบบรามัญ ซึ่งงดงามตามแบบเจดีย์รามัญ

และหาชมได้ยาก พระพุทธรูปที่เจ้าน้อยมหาพรหมสร้างไว้ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาการเปรียญ

เซียนแปะ (โรงสี) ฆราวาสชาวจีนผู้เรืองเวทย์ คนส่วนใหญ่นิยมมาขอพรเรื่องการเงินการงาน

การทำธุรกิจการค้าให้ เจริญรุ่งเรือง เมื่อได้สมปรารถนาแล้วก็จะนำผลไม้ของไหวมงคลต่างๆ รวมถึงหุ่น จระเข้มาถวายเพื่อความเป็นสิริมงคล

ประวัติของ “เซียนแปะกิมเคย” มีบันทึกไว้ว่า “ท่านเกิดที่ประเทศจีน ย้ายเข้ามาอยู่เมืองไทยตั้งแต่ยังเด็ก

เมื่อโตขึ้นท่านได้ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและค้าข้าวเปลือก ต่อมาธุรกิจค้าข้าวเปลือกดีขึ้น

ท่านได้ร่วมหุ้มกับโรงสีข้าวเปลือกที่ปากคลองบางโพธิ์ล่าง(ต.บางเดื่อ)

และเมื่อสมรสจึงย้ายมาประกอบกิจการโรงสีไฟของตัวเองที่ปากคลองเชียงราก เยื้องกับ วัดศาลเจ้า ในนามของ

“โรงสีไฟทองศิริ” โอนสัญชาติมาเป็นสัญชาติไทย เปลี่ยนชื่อเป็น นายนที ทองศิริ อุปนิสัยของท่านเป็นคนโอบอ้อมอารี

ชอบชี้แนะช่วยเหลือผู้อื่น ท่านเป็นกำลังหลักสำคัญในการบูรณะศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า แม้การคมนาคมขนส่งสมัยยังลำบากมาก

แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อร่วมแรงร่วมใจกับผู้มีจิตศรัทธาบูรณะศาลจนแล้วเสร็จ ด้วยความดีของ “เถ้าแก่กิมเคย” หรือ

“แปะกิมเคย” ท่านจึงเป็นที่ รักเคารพและศรัทธาของชาวบ้านในละแวกนั้นเป็นอย่างมาก

การมากราบขอพร “เซียนแปะ โรงสี” , “เซียนแปะกิมเคย” หรือ “เซียนแปะโง้วกิมโคย” ฆราวาสชาวจีนผู้เรืองเวทย์

โดยส่วนใหญ่นิยมมาขอพรเรื่องการเงินการงาน การทำธุรกิจการค้าให้เจริญรุ่งเรือง เมื่อได้สมปรารถนาแล้วก็จะนำผลไม้ของไหวมงคลต่างๆ

รวมถึงหุ่นจระเข้มาถวายเพื่อความเป็นสิริมงคล ท่านเป็นที่รักเคารพและศรัทธาของชาวบ้านในละแวกนั้นเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้กำหนดวันในการจัดงานประจำปีศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า คือ วันขึ้น 5 ค่ำ

เดือน 1 จนถึงขึ้น 8 ค่ำ เดือน 1 4วัน 4คืน ซึ่งชาวจีนเรียกช่วงนี้ว่า “เจียง่วย ชิวโหงว ถึง เจียง่วย ชิวโป๊ย” และถือเป็นประเพณีตลอดมา

เซียนแปะกิมเคยมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ส่วนใหญ่จะขอให้ท่านช่วยชี้แนะเกี่ยวกับ ฮวงจุ้ย ทำเลที่ตั้งบ้าน

ห้างร้าน บริษัท ท่านก็ช่วยชี้แนะทุกรายไปโดยไม่หวังผลตอบแทน ผู้ที่ท่านช่วยชี้แนะจะประสบความ

สำเร็จเจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักในวงการค้า เมื่อเวลาผ่านไปถึงวัยชราร่างกายผ่ายผอมหลังโค้งงอ

แต่เซียนแปะกิมเคยก็ยังคงช่วยเหลือชี้แนะบรรดาลูกศิษย์อย่างที่เคยเป็นมา จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

หลังเสร็จสิ้นพิธีศพของท่าน ครอบครัวและคณะศิษย์ได้จัดสร้าง รูปเหมือนขนาดเท่าตัวจริง ตั้งเป็นที่สักการบูชา ณ ศาลานที ทองศิริ วัดศาลเจ้า

วัตถุมงคลของเซียนแปะกิมเคย ที่ได้รับความนิยม คือ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างปี พ.ศ. 2519 ,

เหรียญรูปเหมือนทรงหยดน้ำ, ล็อคเก็ต รูปเหมือน และ ผ้ายันต์ เป็นต้น

ยันต์ฟ้าประทาน นับเป็นเครื่องรางประจำตัวของเซียนแปะ ที่ลูกศิษย์หรือคนในวงการเซียนพระ เครื่องราง

เห็นแล้วต่างก็ต้องรู้ทันทีถึงความศักดิ์สิทธิ์ หรือเรื่องราวปาฏิหาริย์ที่มีกับผู้คนหลากหลายประสบการณ์

ความเชื่อเรื่องจำนวนยันต์ที่อยู่ในผืนผ้า (เรียกว่า กา) นั้นมีดังนี้

1 กา ใช้พกติดตัว ช่วยในการเริ่มสร้างฐานชีวิต สร้างเนื้อสร้างตัว

2 กา ใช้สำหรับร้านเสริมสวย

3 กา ใช้สำหรับที่ที่มีอาถรรพ์ ปรับเจ้าที่เจ้าทาง

4 กา ใช้สำหรับสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม

5 กา ใช้สำหรับสถาบัน โรงเรียน ร้านหนังสือ หรือร้านสังฆภัณฑ์ เป็นต้น

6 กา ใช้สำหรับแหล่งเริงรมย์ ร้านขายของสวยงาม

7 กา ใช้สำหรับร้านก่อสร้าง ร้านการแพทย์ หรือกิจการหนักๆ

8 กา ใช้สำหรับกิจการที่ต้องมีบริวาร คุมลูกน้อง

9 กา ใช้สำหรับร้านเครื่องไฟฟ้า หรือขายสิ่งของธรรมะ

(การไหว้)

1.ส้ม 5 ลูก

2.น้ำชา 5 ถ้วย

3.ขนมแต้เหลียว 1 จาน

4.กิมฮวย 1 คู่

5.ธูป 5 ดอก

6.พวงมาลัย 1 คู่

7.ไหว้วันชิวโหงว วันที่ห้า ของวันตรุษจีน วันที่เจ้ากลับลงมาจากสวรรค์

แค่ระลึกถึงอาแปะก็เฮงแล้ว อาแปะนั้นท่านจะช่วยคนดีมีศึลธรรมที่นับถือท่านนั้นพลิกดวงชะตาให้ดีขึ้นขอบารมีจากท่านให้คุ้มครองรักษาเรา

อยากได้อะไรก็บอกท่านเหมือนเราขอพรจากผู้ใหญ่ ห้ามบนและจะเด่นด้านการเสริมดวงในการทำมาหากินให้ดีขึ้น

และโชคลาภ ตามบัญชาของเทพบนสวรรค์ที่ได้ให้อาแปะมาช่วยเหลือมนุษย์